จำหน่ายวาล์ว Fittings Tubes, Pumps, Tank Equipment, Heat Exchangers, Filtration Equipment, Gasket Plate Heat Exchanger, งานถังสแตนเลสเครื่องเปิดอัตโนมัติ,สารเติมเต็ม, ฟิลเตอร์, เครื่องจัดเรียงสินค้า, เครื่องปิดฉลาก, เครื่องติดฉลาก, เครื่องล้างขวด, ปั๊มที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

อ่านเพิ่มเติม
ติดต่อเรา
  •  
 

 

 

ปั๊มมีรูปแบบใดให้เลือกใช้งานบ้าง ? เหมาะกับการใช้งานแบบไหน

1. Positive Displacement Pump ปั๊มที่เคลื่อนย้ายของเหลวด้วยพื้นที่หรือช่องว่างที่ถูกกำหนดขนาดตายตัว ดูดของเหลวและส่งไปยังพื้นที่เป้าหมาย โดยที่จะไม่ก่อให้เกิดการตัดเฉือนวัตถุดิบ แต่อาจก่อให้เกิดการไหลย้อนกลับของวัตถุดิบ ซึ่งหากปั๊มมีคุณภาพมากเท่าไหร่ตัววัตถุดิบจะได้รับการขนย้ายที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้นเท่านั้น
 

2. Centrifugal Pump เป็นปั๊มที่ใช้ใบพัดในการเคลื่อนย้ายและเร่งความเร็วการเคลื่อนที่ของของเหลวเพื่อเข้าส่งไปยังใบพัดที่ทำหน้าที่ส่งไปยังพื้นที่เป้าหมาย ถือเป็นปั๊มที่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายน้อยและสามารถบำรุงรักษาได้ง่าย แต่ปั๊มรูปแบบนี้มีข้อจำกัดที่เกี่ยวกับค่าความหนืด ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องมีค่าความหนืดต่ำกว่า 500 cP ลงไป นอกจากนี้ ปั๊มรูปแบบนี้ยังมีค่าการตัดเฉือนที่สูงอีกด้วย โดยมากมักใช้ในการเคลื่อนย้ายของเหลวที่มีค่าความหนืดต่ำ เช่น นม เป็นต้น
 

3. Liquid Ring Pump มีลักษณะการทำงานพื้นฐานเหมือนกับ Centrifugal Pump แต่สามารถใช้กับระบบกาลักน้ำหรือการล่อน้ำได้หากมีความต้องการใช้งาน นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ได้ในเวลาที่ท่อลำเลียงว่างหรือมีอากาศปะปนอยู่ในระบบได้อีกด้วย หากเป็น Centrifugal Pump ซึ่งมีระบบแอร์ล็อกจะทำให้ไม่สามารถเปิดระบบใหม่หากไม่เติมเต็มช่องว่างของอากาศเสียก่อน
 

4. Positive Rotary Pump นิยมใช้กับของเหลวที่มีค่าความหนืดสูงหรือตั้งแต่ 500 cP ขึ้นไป มักไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียประสิทธิภาพของการออกแบบผลิตภัณฑ์ ก่อให้เกิดการตัดเฉือนที่น้อยกว่า Centrifugal Pump และส่งผ่านพลังงานที่เกิดขึ้นในกระบวนการไปยังวัตถุดิบได้น้อยกว่า ซึ่งปั๊มรูปแบบนี้มักถูกเลือกใช้บ่อยครั้งเมื่อต้องการถนอมวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า
 

5. Piston Pump ปั๊มชนิดนี้สร้างแรงดันที่สูงกว่าปั๊มชนิดอื่นๆ โดยมีแรงดันอยู่ที่ประมาณ 100 bar หรือ 15,000 psi สามารถใช้ได้ตั้งแต่ของเหลวที่ต้องการอัตราความลื่นไหลต่ำไปจนถึงรูปแบบที่ต้องการแรงดันที่สูง Piston Pump นิยมใช้กับครื่องฮอจิไนซ์ ซึ่งโดยมากมักมีแรงดันอยู่ที่ 2,000 ถึง 5,000 psi หรือมักนำไปใช้งานกับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบเหลวในระยะทางที่ไกล หรือใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นที่มีแรงดันแตกต่างกัน เช่น ท่อถ่ายเทอุณหภูมิ